วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบศักดินา (Feudal System)

ระบบศักดินา
(Feudal System)
สังคมศักดินา หมายถึงระบบสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่และฐานะของแต่ละบุคคลในสังคม จุดประสงค์ก็เพื่อควบคุมกำลังคนและแบ่งฐานะของบุคคลเป็นสำคัญ ผู้ควบคุมกำลังคนสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ รองลงมาได้แก่ ขุนนาง (ข้าราชการ) และผู้ถูกควบคุมคือ สามัญชนหรือไพร่ ระบบศักดินาได้รับการจัดระเบียบในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีการตราพระราชกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับศักดินาขึ้น ใน พ.ศ .1998 เรียกว่า “พระไอยการตำแหน่งนายพลและนายทหารหัวเมือง”


สังคมไทยในอดีตมีการจัดระเบียบของคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้นใหญ่ ๆ
1.ชนชั้นนายหรือชนชั้นผู้ปกครอง เป็นกลุ่มคนส่วนน้อยในสังคมที่มีบทบาทและอำนาจมาก แบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- เจ้านาย เป็นเชื้อพระวงศ์ได้มาจากการสืบทอด(Ascriptive status)หรือได้มาโดยกำเนิด เป็น
ระบบปิด เปลี่ยนไม่ได้ คล้ายระบบวรรณะ(Caste system) ของพราหมณ์ เจ้านายเริ่มตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าแล้วก็ลดขั้นลงเรื่อยๆจนถึงหม่อมหลวง หลังจากหม่อมหลวงแล้วจะเป็นสามัญชน ทุกGeneration จะลดลงเรื่อยๆ
- ขุนนาง คือบุคคลที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์แต่ได้ถวายตัวรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน มียศตำแหน่งเป็น
ตามลำดับชั้นจากล่างขึ้นบนตั้งแต่ขุน หลวง พระ พระยา เจ้าพระยา สามารถปรับเปลี่ยนสถานภาพได้ และได้มาจากการกระทำเป็น Achieved status เป็นระบบเปิดปรับเปลี่ยนได้ ถ้าทำความดีความชอบจะได้เลื่อนยศตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ มีศักดินาและอำนาจบารมีมากขึ้น เป็นระบบเปิดจงเปิดโอกาสให้คนเข้ามารับตำแหน่งได้แต่ส่วนใหญ่จะดึงกันมาตามสายของขุนนาง มาอุปถัมภ์ค้ำชูกันมาหรือบางคนอาจมาด้วยความสามารถส่วนตัวซึ่งจะพบได้น้อยมากส่วนใหญ่จะเป็นช่วงสงครามที่มีการออกรบได้แสดงฝีมือให้เห็น
เจ้านายและขุนนาง จึงเป็นผู้มีอภิสิทธิ์ทางสังคม มีอำนาจ มีตำแหน่ง มีเกียรติ ศักดิ์ศรี บารมีและกำลังคน ในส่วนของชนชั้นนายในเมืองไทยจึงเป็นระบบกึ่งเปิดกึ่งปิด มีผลให้คนไทยพยายามไขว่คว้าหายศตำแหน่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ สมัยก่อนถ้ามีอำนาจ ศักดิ์ศรีแล้วเงินจะตามมา ปัจจุบันต้องมีเงินก่อนแล้วค่อยหา อำนาจ ยศตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้เป็นพันธนาการมาจากอดีตที่ยังคงสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน


2. ชนชั้นไพร่หรือชนชั้นผู้ใต้ปกครอง เป็นชนส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- ไพร่หลวง คือผู้ที่ไม่มีผู้อุปถัมภ์ ถือว่าสังกัดในพระเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่ถูกเกณฑ์แรงงาน ถือเป็น
หัวใจสำคัญของการควบคุมคนในสังคมสมัยก่อน ถ้าเป็นไพร่หลวงต้องรับใช้หลวง โดยจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาก 6 เดือนต่อปีที่เรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน จนไม่ค่อยมีเวลาไปทำมาหากินของตนเอง ค่าตอบแทน(Rewarding system)ก็ไม่ได้ต้องเอาข้าวปลาอาหารไปกินเองด้วย ผลกระทบทางเศรษฐกิจคือไม่สามารถสร้างประโยชน์แก่ครอบครัวได้ งานหลวงที่ต้องไปทำหลักๆคือสร้างวัด สร้างวัง สร้างถนน ขุดคลอง เมื่อต้องไปทำงานในป่าจะเสี่ยงต่ออันตรายทั้งไข้ป่า สัตว์ป่า อาจเสียชีวิต ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ชีวิตไพร่หลวงจึงเต็มไปด้วยความขมขื่น ทำงานโดยไม่มีแรงจูงใจ ไม่เต็มใจ ไม่อยากทำ แต่ไม่รู้จะหนีหรือต่อสู้กับผู้อำนาจอย่างไรก็เลยใช้รูปแบบการอู้งาน ทำน้อยๆ ทำช้าๆ หลบๆเลี่ยงๆไป และมองว่าการทำงานหนักเป็นสิ่งไม่ดี เป็นทุกข์ ไม่มีความผูกพันกับงาน ทำให้ติดเป็นนิสัยไม่รักการทำงานติดตัวมาในสังคมไทย มองว่างานหนักเป็นเรื่องไม่ดี สู้งานเบางานในสำนักงานไม่ได้ เช่นเวลาทักทายกันการทักทายจากผู้ใหญ่จะถามเหนื่อยไหมลูก หรือการทำงานก็จะใช้คนเปลือง มีคนมากแต่ทำงานไม่เต็มที่โดยเฉพาะงานก่อสรางที่มีคนงานเยอะแต่งานทำได้ช้า
- ไพร่สม คือไพร่ที่ถวายตัวรับใช้เจ้านายหรือขุนนาง จะต้องทำงานรับใช้เจ้านาย โดยได้รับการ
ยกเว้นการเกณฑ์แรงงานจากหลวง นั่นคือผู้อุปถัมภ์ช่วยให้ผู้รับการอุปถัมภ์ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่สมจึงต้องตอบแทนกันกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ เป็นแกนหลักของการผูกพันทางสังคม เป็นการผูกพันส่วนตัว(Personalism) เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัวในเชิงแลกเปลี่ยน(Exchange Relationship) ใกล้ชิด สถานะไม่เท่าเทียมกัน เป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้ง(Vertical social affiliation) และไม่ยั่งยืน



ที่มา www.nidampa9phitsanulok.net/.../601_dr.juree%20by%20oil-oil.doc
http://student.nu.ac.th/naruto_nu.com/pongkong.html
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/social04/18/middleages/feudal_system_i.html